เราได้พยายามทำให้ตัวเลือกภาพผลลัพธ์เข้าใจได้ง่ายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ก็จัดทำรายละเอียดทั้งหมดให้อ่านได้ดังนี้:
ภาพเวกเตอร์ที่เราสร้างขึ้นเกิดจากรูปทรงที่ประกอบด้วยห่วงที่ไม่ตัดกันในตัวเอง ห่วงคือลำดับของเส้นโค้งโดยที่เส้นโค้งแต่ละเส้นจะเริ่มต้นเมื่อเส้นโค้งที่แล้วสิ้นสุดลง และโดยที่เส้นโค้งสุดท้ายสิ้นสุดลงตรงที่เส้นโค้งแรกเริ่มต้นขึ้น เราสร้างเส้น ส่วนโค้งวงกลมและส่วนโค้งวงรี และเส้นโค้งเบซิเยร์แบบจุดควบคุมสามจุดและแบบจุดควบคุมสี่จุด
รูปทรงจะมีห่วงที่มี "ค่าบวก" หนึ่งห่วงเสมอ ซึ่งกำหนดพื้นที่ที่ควรเติมสีของรูปทรงนั้นให้เต็ม ในบางกรณี รูปทรงอาจมีห่วงที่เป็น "ลบ" ซึ่งแสดงถึงรอยตัดที่ไม่ควรลงสีของรูปทรง ห่วงที่เป็นลบต้องถูกปิดล้อมด้วยห่วงที่เป็นบวกของรูปทรงและต้องไม่แตะกัน
ในกรณีของภาพอินพุตที่มีภาพวาดลายเส้นหรือรูปทรงเรขาคณิตแบบลายเส้นอื่น ๆ เช่น ภาพวาดจากโปรแกรม CAD แผนภูมิ แผนภาพทางเทคนิค และอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน เรามักคาดหวังกันว่าเราจะสร้างรูปทรงเรขาคณิตแบบลายเส้นเป็นภาพเอาต์พุต เราเรียกการปรับให้เป็นเวกเตอร์ในลักษณะนี้ว่า การแปลงเป็นเส้นกลาง ขณะนี้เราไม่รองรับการแปลงเป็นเส้นกลาง ดังนั้นรูปทรงเรขาคณิตแบบลายเส้นทั้งหมดจึงแสดงเป็นรูปทรงแบบแคบที่ลงสีไว้
โปรดทราบว่าส่วนที่เป็นรูปแบบเส้นขอบนั้นใช้สำหรับเลือกรูปแบบให้เส้นขอบของเส้นพาธที่ประกอบกันเป็นรูปทรงที่ลงสีไว้ แต่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการแปลงเป็นเส้นกลาง
เมื่อรูปทรงสองรูปในภาพเวกเตอร์อยู่ติดกันจนเส้นขอบของรูปทรงทั้งสองซ้อนทับกันพอดี เอนจินการสร้างภาพเวกเตอร์จำนวนมากจะวาดภาพรูปทรงดังกล่าวในลักษณะที่ทำให้มองเห็นเส้นสีขาวแคบ ๆ ผ่านขอบดังกล่าวได้ ซึ่งเป็นข้อบกพร่องในเอนจินการเรนเดอร์เหล่านั้น แต่เป็นข้อบกพร่องที่พบบ่อยจนดูเหมือนจะยังคงอยู่อีกนาน
เราได้ออกแบบสิ่งที่เราเรียกว่า ตัวอุดช่องว่าง เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ตัวเติมช่องว่างจะวาดเส้นแคบ ๆ ใต้เส้นขอบระหว่างรูปทรงทั้งสอง และใช้สีที่เป็นค่าเฉลี่ยของสีทั้งสองของรูปทรง วิธีนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้มองเห็นพื้นหลัง และแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เส้นขอบที่วาดด้วยความกว้างคงที่โดยไม่คำนึงถึงระดับการซูมเรียกว่า เส้นขอบแบบไม่ปรับขนาด คุณสมบัตินี้มีการรองรับเต็มรูปแบบใน SVG และโปรแกรมปรับเวกเตอร์เป็นภาพ PNG รวมทั้งมีการรองรับบางส่วนใน EPS, PDF และ DXF
SVG รองรับความกว้างของเส้นขอบแบบไม่ปรับขนาดที่ไม่เจาะจง และมีการรองรับอย่างกว้างขวางในโปรแกรมเรียกดูและโปรแกรมแก้ไข SVG จำนวนมาก ยกเว้น Adobe Illustrator ซึ่งละเว้นรูปแบบที่ไม่ปรับขนาด ดังนั้นเส้นขอบจะปรับขนาดตามระดับการซูม โปรแกรมปรับเวกเตอร์เป็นภาพ PNG ของเรายังรองรับเส้นขอบแบบไม่ปรับขนาดอย่างเต็มรูปแบบอีกด้วย
ทั้ง EPS และ PDF รองรับเฉพาะเส้นขอบแบบไม่ปรับขนาดที่ไม่ระบุการแสดงความกว้างขั้นต่ำ ซึ่งโดยทั่วไปเข้าใจว่าเป็นความกว้างที่ไม่เกินหนึ่งพิกเซล Adobe ไม่สนับสนุนการใช้งานคุณสมบัตินี้อย่างเป็นทางการ และการทดสอบโดยใช้ Illustrator 2023 แสดงให้เห็นว่าการใช้งานรูปแบบนี้มีข้อบกพร่องที่เห็นได้ชัด
นอกจากนี้ DXF ยังรองรับเส้นขอบแบบไม่ปรับขนาดที่มีการแสดงความกว้างขั้นต่ำ ซึ่งเป็นลักษณะเส้นขอบที่พบทั่วไปในไฟล์ DXF
โดยทั่วไป เราแนะนำให้ใช้เส้นขอบแบบไม่ปรับขนาดเฉพาะกับ SVG, DXF และ PNG เท่านั้น
ภาพเวกเตอร์ประกอบด้วยรูปทรงที่วาดตามลำดับที่เฉพาะเจาะจง โดยปกติจะเป็นลำดับที่แสดงให้เห็นในไฟล์ที่กำหนดภาพเวกเตอร์นั้น
รูปทรงบางรูปอาจเปลี่ยนลำดับการวาดได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนรูปลักษณ์ของภาพเวกเตอร์ ตัวอย่างเช่น ลองพิจารณาจุดสองจุดที่อยู่ห่างกันบนสี่เหลี่ยมผืนผ้า ต้องวาดสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อนจุด แต่อาจวาดจุดใดจุดหนึ่งก่อนอีกจุดหนึ่งได้โดยไม่มีผลกระทบต่อรูปลักษณ์ของภาพเวกเตอร์
ชุดของรูปทรงใด ๆ ที่การจัดลำดับใหม่ภายในจะไม่เปลี่ยนรูปลักษณะของภาพอาจรวมอยู่ใน เลเยอร์ เดียวกันได้ เลเยอร์ต่าง ๆ นั้นต้องวาดขึ้นตามลำดับ แต่อาจจัดลำดับใหม่หรือจัดกลุ่มให้รูปทรงภายในเลเยอร์ได้โดยไม่เปลี่ยนรูปลักษณะของภาพ
เรารองรับรูปแบบไฟล์ส่งออกที่หลากหลาย แต่บางรูปแบบไม่รองรับคุณสมบัติทุกข้อ
SVG 1.1 เป็นเวอร์ชันที่ใช้กันมากที่สุดในบรรดา SVG ทั้งหมด แต่เพื่อวัตถุประสงค์ของไฟล์เอาต์พุตของเรา SVG 1.1 แตกต่างจาก SVG 1.0 ตรงส่วนหัวเท่านั้น
ทั้งสองเวอร์ชันไม่รองรับเส้นขอบแบบไม่ปรับขนาดอย่างเป็นทางการ ซึ่งเปิดตัวใน SVG Tiny 1.2 และเป็นส่วนหนึ่งของข้อกำหนด SVG 2.0 ที่ยังไม่เผยแพร่ ในทางปฏิบัติ โปรแกรมดูและโปรแกรมแก้ไขหลักส่วนใหญ่จะรองรับเส้นขอบแบบไม่ปรับขนาด ดังนั้นเราจึงยอมรับให้ใช้ในเอาต์พุต SVG ทั้งหมดของเรา
ไฟล์ Encapsulated Postscript (EPS) เป็นรูปแบบเดิมที่ Adobe สร้างขึ้น และใช้กับการพิมพ์เป็นหลัก ไฟล์ชนิดนี้ไม่รองรับการจัดกลุ่มและความโปร่งใส และมีข้อจำกัดในการรองรับเส้นขอบแบบไม่ปรับขนาด
ขณะนี้เราส่งออก EPS เวอร์ชัน 3 ซึ่งเป็นเวอร์ชันที่ใช้กันบ่อยที่สุด
ไฟล์ Portable Document Format (PDF) ของ Adobe ส่วนใหญ่จะใช้เป็นรูปแบบในการแลกเปลี่ยนเอกสาร แต่ก็มีความสามารถในด้านภาพกราฟิกเวกเตอร์ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนพอสมควร PDF ไม่รองรับการจัดกลุ่มและมีข้อจำกัดในการรองรับเส้นขอบแบบไม่ปรับขนาด
เราส่งออก PDF เวอร์ชัน 1.4 ซึ่งเป็นเวอร์ชันแรกสุดที่รองรับความโปร่งใส
ไฟล์ Drawing Exchange Format (DXF) ของ AutoCAD เป็นรูปแบบไฟล์การแลกเปลี่ยน CAD ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย แม้ว่าข้อกำหนดเฉพาะของ DXF จะรองรับเลเยอร์ (กลุ่ม) และเส้นโค้งทุกประเภทที่มีอยู่ แต่โปรแกรมอ่านไฟล์ DXF ต่าง ๆ มีการรองรับที่แตกต่างกันมาก
เราส่งออกไฟล์ DXF เวอร์ชัน AC1021 (2007)
ไฟล์ Portable Network Graphics (PNG) เป็นรูปแบบภาพแรสเตอร์ที่รองรับความโปร่งใส ไฟล์ PNG เป็นรูปแบบภาพบิตแมป ไม่ใช่รูปแบบภาพเวกเตอร์ แต่เรารองรับการส่งออกเนื่องจากมักใช้งานกับประเภทของภาพที่เราสร้างขึ้น
ขณะนี้เราไม่รองรับปัจจัยการปรับขนาดที่ไม่เจาะจง เอาต์พุต PNG ที่เราสร้างขึ้นนั้นมีความกว้างและความสูงเป็น 4 เท่าของรูปภาพอินพุต โดยที่ขนาดสูงสุดไม่เกิน 4 เมกะพิกเซล ในอนาคต เราจะลบข้อจำกัดเหล่านี้ออก
กระบวนการปรับภาพให้เป็นเวกเตอร์จะสร้างชุดของเส้นพาธที่กำหนดรูปทรงภายในภาพ ลักษณะที่เป็นธรรมชาติมากที่สุดคือ การลงสีให้รูปทรงเหล่านั้นด้วยสีที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ภาพที่เป็นผลลัพธ์ดูเหมือนภาพบิตแมปที่เป็นอินพุตมากที่สุด แต่มีขอบเขตที่คมชัดกว่าและสามารถปรับขนาดโดยที่คุณภาพของภาพไม่ลดลง
แต่แอปพลิเคชันบางอย่างให้ความสนใจไปที่ตัวเส้นพาธมากกว่า ซึ่งในกรณีดังกล่าว การลากเส้นขอบรอบรูปทรงหรือขอบเขตระหว่างรูปทรงอาจมีความเหมาะสมมากกว่า
ลากเส้นขอบของรูปทรงงทั้งหมดราวกับว่าคุณลงสีให้ แต่โดยการกำหนดลักษณะการวาดด้วยรูปแบบเส้นขอบแทนลักษณะการลงสีโดยปริยาย
หากรูปทรง 2 รูปแตะกัน ขอบระหว่างรูปทรงทั้งสองจะมีการลากเส้นขอบ 2 เส้น: แต่ละรูปทรงมีเส้นขอบของตัวเอง
ภาพคัตเอาต์จะสร้าง 2 เส้นขอบต่อแต่ละขอบเสมอ รูปทรงที่ซ้อนกันจะทำให้เกิดเส้นขอบหนึ่งเส้นระหว่างรูปทรงหนึ่งกับรูปทรงอื่นที่บรรจุอยู่ภายในรูปทรงแรก และเส้นขอบ 2 เส้นระหว่างรูปทรงต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกัน โดยที่ไม่มีรูปทรงใดบรรจุอยู่ภายในรูปทรงอื่น
ลากเส้นขอบทั้งหมดระหว่างรูปทรงเพียงครั้งเดียว
ตรงกันข้ามกับ "ลากเส้นขอบรูปทรง" ซึ่งโดยทั่วไปจะลากเส้นขอบให้แต่ละขอบ 2 ครั้ง (หนึ่งครั้งต่อแต่ละรูปทรงที่ขนาบข้างกัน) การวาดในลักษณะนี้จะลากเส้นขอบแต่ละเส้นระหว่างรูปทรงเพียงครั้งเดียว
รูปแบบนี้มีประโยชน์ในการแกะสลักเลเซอร์ การตัดไวนิล และอื่น ๆ
เราอาจพิจารณาได้ว่า รูปทรงของภาพเวกเตอร์เป็นการ วางซ้อนทับ กันและกัน หรือเป็น คัตเอาต์ ของกันและกัน เราสามารถผลิตได้ทั้งสองแบบ
วางรูปทรงในคัตเอาต์ภายในรูปทรงด้านล่าง ซึ่งหมายความว่ารูปทรงทั้งหมดรวมกันอยู่ในเลเยอร์เดียว โดยไม่มีรูปทรงใดทับซ้อนกัน
จึงทำให้คุณสมบัติของตัวอุดช่องว่างใช้งานได้ง่ายขึ้น เนื่องจากยอมให้วางเส้นขอบทุกเส้นของตัวอุดช่องว่างในเลเยอร์เดียวใต้รูปทรงทั้งหมดได้ แต่เส้นขอบของตัวอุดช่องว่างจะมีความจำเป็นเพราะต้องใช้เมื่อรูปทรงอยู่ติดกันและแตะกัน ซึ่งต่างจากกรณีที่รูปทรงหนึ่งทับซ้อนอยู่บนอีกรูปทรงหนึ่ง
นอกจากนี้ยังทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่ขึ้นด้วยเนื่องจากต้องรวมเส้นโค้งที่ระบุคัตเอาต์นั้นไว้ด้วย
นอกจากนี้ ยังอาจช่วยให้แก้ไขภาพผลลัพธ์ในโปรแกรมแก้ไขเวกเตอร์ได้ง่ายขึ้นหรือยากขึ้นด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภาพและการกำหนดลักษณะที่คุณใช้อยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คัตเอาต์ช่วยให้แยกส่วนประกอบหนึ่ง ๆ ของภาพออกจากอีกส่วนประกอบหนึ่งได้ง่ายขึ้น เนื่องจากแต่ละส่วนประกอบมีรูปทรงที่มองเห็นได้โดยไม่ขึ้นอยู่กับส่วนประกอบอื่นใดที่อาจทับซ้อนกันอยู่ ในทางกลับกัน หากมีเจตนาที่จะเก็บทุกส่วนของภาพไว้ด้วยกัน คัตเอาต์จะทำให้แก้ไขรูปทรงของส่วนประกอบใด ๆ ด้วยความแม่นยำได้ยากขึ้น เพราะการแก้ไขรูปทรงจะต้องอาศัยการแก้ไขที่เกี่ยวข้องกันกับคัตเอาต์ที่บรรจุรูปทรงนั้นไว้
วางรูปทรงซ้อนทับกันและกัน ลองนึกถึงเค้กหลายชั้นซึ่งมีชั้นที่เล็กกว่าวางทับบนชั้นที่ใหญ่กว่า
โดยทั่วไป ตัวเลือกนี้จะลดขนาดไฟล์และจำนวนเส้นขอบตัวอุดช่องว่างให้เหลือน้อยที่สุด แต่จะทำให้คุณสมบัติตัวอุดช่องว่างซับซ้อนขึ้น เนื่องจากเส้นขอบของตัวอุดช่องว่างจะต้องแทรกอยู่ระหว่างรูปทรงที่ต้องอาศัยเส้นขอบและรูปทรงที่บรรจุไว้ ในบางครั้ง จึงมีผลข้างเคียงเพิ่มเติมที่ทำให้ส่วนเล็ก ๆ จากเส้นขอบของตัวอุดช่องว่างยื่นออกไปเกินรูปทรงที่ตั้งใจไว้ เราสามารถแก้ปัญหานี้ได้โดยใช้เส้นขอบแบบไม่ปรับขนาด หรือโดยการคลิปเส้นขอบของตัวอุดช่องว่าง เราแนะนำให้ใช้เส้นขอบแบบไม่ปรับขนาดทุกครั้งที่สามารถใช้ได้
นอกจากนั้น รูปร่างแบบซ้อนทับกันยังทำให้สามารถแก้ไขขอบเขตระหว่างรูปทรงหนึ่ง ๆ กับรูปทรงที่อยู่ด้านล่างได้ง่ายยิ่งขึ้น เพราะขอบเขตนั้นจะไม่ซ้ำกันในคัตเอาต์ แต่ก็อาจทำให้แยกส่วนประกอบหนึ่งของภาพออกได้ยากขึ้น เนื่องจากภาพที่มองเห็นได้ของแต่ละรูปทรงจะขึ้นอยู่กับรูปทรงที่ซ้อนทับกันอยู่
รูปแบบไฟล์เวกเตอร์ เช่น SVG จะรองรับการรวบรวมรูปทรงต่าง ๆ เข้าเป็นกลุ่ม ส่วนใหญ่กลุ่มดังกล่าวมีประโยชน์ต่อการจัดระเบียบ และเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก้ไขได้ง่ายขึ้น โดยยอมให้เปลี่ยนแปลงรูปทรงต่าง ๆ ภายในกลุ่มได้ทั้งหมดในคราวเดียว
SVG มีการรองรับกลุ่มอย่างเต็มรูปแบบ แต่ทั้ง EPS และ PDF ไม่รองรับกลุ่ม DXF รองรับเลเยอร์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับกลุ่ม
ส่วนนี้จะควบคุมวิธีการจัดกลุ่มรูปทรงเข้าด้วยกัน
จัดกลุ่มรูปทรงตามสีที่ลงไว้
เมื่อโหมดการซ้อนทับรูปทรงเป็น "คัตเอาต์" รูปทรงทั้งหมดที่มีสีที่กำหนดไว้จะรวมกันเป็นกลุ่มเดียว
เมื่อโหมดการซ้อนทับรูปทรงเป็น "ซ้อนทับ" โดยปกติแล้วจะไม่สามารถจัดกลุ่มรูปทรงทั้งหมดตามสีที่กำหนดไว้เข้าด้วยกันได้ เนื่องจากทุกส่วนของกลุ่มจะต้องอยู่ในตำแหน่งเดียวกันตามลำดับการวาดของภาพเวกเตอร์ ด้วยเหตุนี้ ในรูปภาพที่ซ้อนกัน เราจึงจัดกลุ่มเฉพาะรูปทรงของสีที่กำหนดไว้ ซึ่งรวมเลเยอร์เดียวกันไว้ด้วยกัน
จัดกลุ่มให้รูปทรงทั้งหมดที่มีพาเรนต์เดียวกัน
หากรูปทรงใดบรรจุอยู่ภายในรูปทรงอื่นโดยสมบูรณ์ เราจะถือว่ารูปทรงภายนอกนั้นเป็นพาเรนต์ของรูปร่างภายใน รูปทรงทั้งหมดที่ไม่อยู่ภายในรูปทรงอื่นโดยสมบูรณ์จะมีภาพเวกเตอร์ของตัวเองเช่นเดียวกับพาเรนต์ และจัดกลุ่มเข้าด้วยกัน
จัดกลุ่มรูปทรงเข้าด้วยกันตามเลเยอร์ลำดับการวาด
เลเยอร์ลำดับการวาดคือกลุ่มของรูปทรงที่สามารถนำลำดับการวาดภายในมาจัดลำดับใหม่ได้อย่างอิสระโดยไม่เปลี่ยนรูปลักษณะของภาพ
เรารองรับเอกลักษณ์พิเศษของรูปทรงแบบกำหนดพารามิเตอร์บางรูปทรง เช่น วงกลม วงรี สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยมหน้าจั่ว และดาว โดยทั้งหมดนี้มีมุมหมุนและรัศมีมุมแบบไม่เจาะจง การกำหนดรูปทรงทั่วไปเหล่านี้จะทำให้เกิดรูปทรงที่มีลักษณะทางเรขาคณิตที่สมบูรณ์แบบและมุมที่สอดคล้องกัน รูปแบบการส่งออกบางอย่างมีการรองรับแบบเนทีฟให้กับรูปทรงเหล่านี้บางรูป เราจึงใช้ประโยชน์จากการรองรับดังกล่าว เพื่อให้สามารถแก้ไขไฟล์ผลลัพธ์ได้ง่ายขึ้น
เราจัดเสนอการควบคุมแบบละเอียดให้ใช้กับประเภทของเส้นโค้งที่สามารถส่งออกได้ แต่ละรูปแบบไฟล์และตัวเลือกอื่น ๆ บางตัวยังมีข้อจำกัดของตัวเองเกี่ยวกับประเภทของเส้นโค้งที่อนุญาตให้ใช้ และมักจะใช้ตัวเลือกที่เข้มงวดที่สุดเสมอ
เส้นโค้งเบซิเยร์แบบจุดควบคุมสามจุดมีลักษณะเฉพาะตรงที่จุดสิ้นสุด 2 จุดและจุดควบคุม 1 จุด โดยมี SVG, DXF และโปรแกรมปรับเวกเตอร์เป็นภาพ PNG ของเรารองรับ ทิศทางสัมผัสของเส้นโค้งตรงจุดสิ้นสุดจะขนานกับเส้นที่เชื่อมต่อจุดสิ้นสุดนั้นกับจุดควบคุมเสมอ
หากปิดใช้งานเส้นโค้งเบซิเยร์แบบจุดควบคุมสามจุด เราจะย้อนกลับไปใช้เส้นโค้งเบซิเยร์แบบจุดควบคุมสี่จุด เส้นโค้งวงรี และเส้นตรงตามลำดับ
เส้นโค้งเบซิเยร์แบบจุดควบคุมสี่จุดมีลักษณะเฉพาะตรงที่จุดสิ้นสุด 2 จุดและจุดควบคุม 2 จุด โดยมีรูปแบบการส่งออกทั้งหมดรองรับ ทิศทางสัมผัสของเส้นโค้งตรงจุดสิ้นสุดจะขนานกับเส้นที่เชื่อมต่อจุดสิ้นสุดนั้นกับจุดควบคุมที่เกี่ยวข้องด้วยเสมอ
หากปิดใช้งานเส้นโค้งเบซิเยร์แบบจุดควบคุมสี่จุด เราจะย้อนกลับไปใช้เส้นตรง
ส่วนโค้งวงกลมมีลักษณะเฉพาะตรงที่มีจุดศูนย์กลาง รัศมี มุมตั้งต้น และมุมลู่ โดยมี SVG, DXF และโปรแกรมปรับเวกเตอร์เป็นภาพ PNG ของเรารองรับ
หากปิดใช้งานเส้นโค้งวงกลม เราจะย้อนกลับไปใช้เส้นโค้งวงรี เส้นโค้งเบซิเยร์แบบจุดควบคุมสี่จุด และเส้นตรงตามลำดับ
ส่วนโค้งวงรีมีลักษณะเฉพาะตรงที่มีจุดศูนย์กลาง แกนหลักและแกนรอง มุมหมุน มุมเริ่มต้น และมุมลู่ โดยมี SVG, DXF และโปรแกรมปรับเวกเตอร์เป็นภาพ PNG ของเรารองรับ
หากปิดใช้งานเส้นโค้งวงรี เราจะย้อนกลับไปใช้เส้นโค้งเบซิเยร์แบบจุดควบคุมสี่จุด และเส้นตรงตามลำดับ
ในกรณีที่ต้องแปลงเส้นโค้งใด ๆ ให้เป็นส่วนของเส้นตั้งแต่หนึ่งส่วนขึ้นไป คุณสมบัติส่วนนี้จะช่วยให้สามารถควบคุมคุณภาพในการกำหนดเส้นได้
ตามที่ระบุไว้ข้างต้น ข้อบกพร่องที่พบได้เกือบทั่วไปในเครื่องมือแรสเตอร์ภาพเวกเตอร์คือ สีพื้นหลังลอดผ่านให้เห็นได้ระหว่างรูปทรงที่แตะกัน แม้ว่าจะไม่มีช่องว่างที่แท้จริงอยู่ในรูปทรงเรขาคณิตที่อยู่ข้างใต้ โดยทั่วไปจะแสดงเป็นเส้นสีขาวบาง ๆ ที่ตัดผลลัพธ์ออกเป็นชิ้นส่วนปริศนา
ในการแก้ไขปัญหานี้ คุณสามารถใช้การเติมช่องว่าง ซึ่งจะวางเส้นขอบเล็ก ๆ ไว้ด้านหลังและระหว่างรูปทรงที่แตะกัน โดยใช้สีที่เทียบเท่ากับสีเฉลี่ยของรูปทรงทั้งสองที่เป็นปัญหา วิธีนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้มองเห็นพื้นหลัง
เมื่อกำหนดลักษณะการวาดเป็น "ลากเส้นขอบรูปทรง" หรือ "ลากเส้นขอบ" ส่วนนี้จะควบคุมลักษณะของเส้นขอบ